น้ำเต้าต้น สรรพคุณและประโยชน์

ต้นน้ำเต้าต้น หรือ ต้นน้ำเต้าญี่ปุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 2-10 เมตร กิ่งก้านแผ่ตามแนวราบ รูปทรงของกิ่งมีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม และรูปทรงไม่ค่อยแน่นอน เป็นต้นไม้ที่ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้เป็นอย่างดี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

สมุนไพร น้ําเต้าต้น

สมุนไพร น้ำเต้าต้น หรือ น้ำเต้าญี่ปุ่น ชื่อสามัญ Calabash, Calabash Tree, Wild Calabash

สมุนไพร น้ำเต้าต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crescentia cujete Linn. โดยจัดอยู่ในวงศ์ BIGNONIACEAE เช่นเดียวกับแคหางค่าง แคทะเล แคนา แคแสด แคหัวหมู ปีบ เพกา รุ่งอรุณ และไส้กรอกแอฟริกา เป็นต้น และมีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้

ลักษณะของน้ำเต้าต้น

ต้นน้ำเต้าต้น หรือ ต้นน้ำเต้าญี่ปุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 2-10 เมตร กิ่งก้านแผ่ตามแนวราบ รูปทรงของกิ่งมีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม และรูปทรงไม่ค่อยแน่นอน เป็นต้นไม้ที่ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้เป็นอย่างดี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ แต่จะนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากจะให้ผลขนาดใหญ่และมีเมล็ดมาก

ใบน้ำเต้าต้ม ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวสดรูปช้อนเรียงสลับ ปลายใบแหลมเล็กน้อย ส่วนโคนใบสอบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่มีก้าน และยังมีใบประดับขนาดเล็กรูปร่างคล้ายใบออกที่โคนใบจำนวน 2 ใบ อยู่ตามข้อกิ่ง โดยใบประดับทั้งสองจะมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร

ดอกน้ำเต้าต้น ดอกเป็นดอกเดี่ยวห้อยลง ลักษณะเป็นรูปปากแตรบานเล็กน้อย ดอกเป็นสีเขียวอมเหลืองและมีลายสีม่วง กลับของดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ที่ปลายดอกแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ ดอกมีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน ขนาดสั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน และดอกมีกลิ่นเหม็นหืน

ผลน้ำเต้าต้น ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโต มีขนาดตั้งแต่ 15-50 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นสีเขียวอ่อน เกลี้ยง และแข็ง ภายในผลมีเนื้อเป็นปุยสีขาวและเมล็ดสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีลักษณะแบน ๆ ปลายเว้าเล็กน้อย คล้ายรูปหัวใจ ขอบเว้า และมีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร

สรรพคุณของน้ำเต้าต้น

  1. น้ําเต้าต้น สรรพคุณของเนื้อในผลหรือใบสดนำมาตำหรือบด แล้วนำมาพอกจะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ,เนื้อในผล)
  2. ช่วยแก้โรคหืด (เนื้อในผล)
  3. ช่วยแก้ไข้ (เนื้อในผล)
  4. เนื้อในผลมีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ
  5. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ปวดท้อง
  6. ผลดิบมีรสเปรี้ยว ใช้กินเป็นยาระบาย แต่ถ้ากินมากอาจทำให้ท้องเสียได้ ส่วนเนื้อในผลก็มีสรรพคุณช่วยระบายท้องด้วยเช่นกัน
  7. เปลือกต้นมีรสฝาด นำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยแก้อาการท้องเดินได้
  8. ช่วยแก้อาอาการบิด (เนื้อในผล)
  9. สมุนไพรน้ำเต้าต้น เนื้อในผลมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ
  10. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของสตรีหลังคลอดบุตร

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.)
ภาพจาก : child.haijai