ภาพจาก gurmania.ru
บำรุงอวัยวะภายในด้วยน้ำผลไม้คั้นสด
เชื่อแน่นะคะว่าทุกคนคงจะไม่มีใครไม่รู้จักน้ำผลไม้คั้นสด ซึ่งนอกจากจะรสชาติอร่อยแล้วยังมีประโยชน์มากมายอีกด้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับน้ำผลไม้คั้นสดให้มากกว่าเดิมกันดีกว่าค่ะ
"น้ำผลไม้คั้นสด" ควรเป็นสิ่งแรกที่เข้าสู่ร่างกายในตอนเช้า เพราะจะช่วยทำความสะอาดระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงการอุ่นเครื่องให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง อีกทั้งร่างกายสามารถดูดซึมคุณค่าจากผลไม้สดได้ง่ายกว่าอีกด้วย ดังนั้นควรดื่มก่อนกินมื้อเช้าประมาณ 10 นาที หรือหากดื่มหลังมื้ออาหารในแต่ละวัน ควรค่อย ๆ จิบน้ำผลไม้และกลั้วไปรอบ ๆ ปากเพื่อเพิ่มเอมไซน์ในอาหารช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยได้ดีขึ้น
จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Medicines กล่าวถึงเรื่องการดื่มน้ำผลไม้คั้นสดช่วยถนอมสุขภาพสมองให้แข็งแรง ซึ่งมีผลสรุปทางการวิจัยว่าผู้ที่ดื่มน้ำผลไม้คั้นสดมากกว่า 3 แก้วใน 1 สัปดาห์มีแนวโน้มความเสี่ยง 76% ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ แต่ก็ถือว่าอยู่ในอัตราเสี่ยงระดับต่ำเมื่อเทียบกับผู้ที่ดื่มน้ำผลไม้คั้น สดเพียงอาทิตย์ละ 1 แก้ว หรือไม่ดื่มเลย
ภาพจาก nutrafarm.co.th
นับว่างานวิจัยนี้มีเหตุผลที่ดีพอในการโน้มน้าวใจให้คนหันมาสนใจเรื่องการ ดื่มน้ำผลไม้คั้นสดมากขึ้น เรามีทางเลือกน้ำผลไม้ใกล้ตัว ที่จะช่วยดูแลอวัยวะภายในของเราให้สุขภาพดีอยู่เสมอมาฝากคุณค่ะ
1. น้ำบีทรูทกระตุ้นสมอง สารประกอบไนโตรเจนในเนื้อสีแดงของผลบีทรูท จะช่วยขยายหลอดเลือดและกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น จากผลการวิจัยล่าสุดของออสเตรเลียพบว่า ผู้ที่ดื่มน้ำบีทรูทคั้นสดทุกเช้ามีระดับความดันโลหิตในสมองที่สดต่ำลง และมีความจำที่ดีขึ้นอีกด้วย
2. น้ำเกรปฟรุตช่วยเผาผลาญไขมัน เกรปฟรุตหมายถึงผลไม้รสเปรี้ยว มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นฤทธิ์ร้อนจึงช่วยเผาผลาญไขมัน และลดระดับอินซูลินซึ่งเป็นตัวการของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ในผลการวิจัยของสหรัฐพบว่าผู้ที่จิบน้ำเกรปฟรุตคั้นสดก่อนมื้ออาหารทุกมื้อ โดยที่ไม่ได้ลดอาหารหรือไดเอทนั้นมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่า 1.5 กิโลกรัม ภายใน 3 เดือน
3. บำรุงกระดูกด้วยน้ำมะเขือเทศ นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนนาเดียน พบว่า ไลโคปีนในน้ำมะเขือเทศสดเปรียบเสมือนธนาคารกระดูกที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและ ฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ดังนั้นหากดื่มน้ำมะเขือเทศคั้นสดวันละแก้วก็จะได้รับแคลเซียมซึ่งเทียบได้ กับการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงวัยสูงอายุ ควรบริโภคน้ำมะเขือเทศคั้นสด 2 แก้วต่อวันในระยะเวลา 4 เดือนขึ้นไป เพื่อช่วยลดอัตราการเป็นโรคกระดูกพรุน
4. บำรุงหัวใจด้วยน้ำส้มคั้น สารฟลาโวนอยในผลส้มจะช่วยลดอัตราไขมันเลว (LDL) และเพิ่มอัตราไขมันดี (HDL) ซึ่งส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายลดต่ำลง นักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลได้ ทำการวิจัยพบว่าในน้ำส้มคั้นสด ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือด และยังช่วยป้องกันโรคหัวใจอีกด้วย
5. น้ำเลมอนบำรุงตับ ป้องกันนิ่ว การดื่มน้ำเลมอนคั้นสดปริมาณ 8 ออนซ์ผสมกับน้ำเปล่าในแต่ละมื้อ ช่วยกระตุ้นให้ตับผลิตน้ำดีได้มากขึ้น ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานปกติตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยของศูนย์โรคไตในซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียเผยว่า ผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ดื่มน้ำเลมอนผสมกับน้ำเปล่าในอัตรา 4.2 เป็นประจำทุกวันจะช่วยลดขนาดก้อนนิ่วในไตได้ โดยมีฤทธิ์เข้าไปละลายก้อนนิ่วในถุงน้ำดีและไตแล้วขับออกมาทางปัสสาวะ รวมทั้งช่วยฆ่าแบคทีเรีย และยังช่วยให้อัตราของกรดฟอสฟอริกในปัสสาวะลดลงจาก 1% เหลือเพียง 0.13% ซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย
6. น้ำสับปะรดบำรุงข้อต่อ จากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เป็นบทความในหัวข้อ "Cellular and Molecular Life Sciences" กล่าวไว้ว่า เอนไซม์บรอมิเลน (Bromelain) ช่วยบำรุงข้อต่อในอวัยวะต่าง ๆ และมีฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) โรคไขข้ออักเสบ (Rheumatoid arthritis) และลดอาการเบอร์ไซติส (Bursitis) หรืออาการบวมอักเสบของข้อต่อที่หัวไหล่ได้ โดยจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทำให้อาการไม่เรื้อรัง
ภาพจาก xslinfo.com
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวิตามินซีที่มีในสับปะรด ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) โรคปริทันต์ หรือรำมะนาด (Periodontal disease) อันเป็นโรคที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ และโรคลมอัมพาต หรืออาการเส้นเลือดในสมองแตก (Stroke) ได้อีกด้วย
ข้อแนะนำเพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริโภคคือ ควรดื่มไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน (ประมาณ 4 ถึง 8 ออนซ์) โดยไม่เพิ่มความหวานใด ๆ อีก เพราะในผลไม้มีน้ำตาลตามธรรมชาติอยู่แล้ว อีกทั้งให้แคลอรีเพียง 60-80 แคลอรีเท่านั้น ซึ่งถือว่าเหมาะที่จะเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพของเราในทุก ๆ วัน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่คุณก็สามารถบำรุงสุขภาพให้ดีขึ้นได้...เดี๋ยวนี้เลย
ขอขอบคุณ ที่มา : สุขกายสบายใจ