เตรียมตัวอย่างไร เมื่อเดินทางช่วงตั้งท้อง

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงนี้อาจจะต้องเดินทางไกล ไม่ว่าจะไปท่องเที่ยวหรือไปทำงาน การเดินทางในช่วงตั้งครรภ์นั้นสามารถทำได้

ภาพจาก : story.motherhood.co.th

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงนี้อาจจะต้องเดินทางไกล ไม่ว่าจะไปท่องเที่ยวหรือไปทำงาน การเดินทางในช่วงตั้งครรภ์นั้นสามารถทำได้ แต่คุณแม่ต้องระมัดระวังและดูแลสุขภาพให้มากกว่าปกติด้วยนะคะ

เตรียมตัวก่อนการเดินทาง

แม่ท้องควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกลในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งท้อง เพราะเป็นช่วงที่ต้องปรับตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ และเสี่ยงต่อการแท้งได้ง่าย ส่วนการเดินทางไกลในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งท้อง นับว่าเป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่ แต่หากต้องเดินทางในช่วงไตรมาสที่ 3 จนถึงก่อนคลอด คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะหากมีการคลอดก่อนกำหนด จะได้ปรึกษาคุณหมอได้ทันที
เมื่อวางแผนท่องเที่ยวแล้ว คุณแม่ก็เตรียมตัวออกเดินทางได้เลยค่ะ

  • ปรึกษาคุณหมอก่นอออกเดินทาง ก่อนการเดินทางคุณแม่ควรให้คุณหมอตรวจสุขภาพก่อน หากคุณแม่เจ็บป่วยก็ควรพักผ่อนและรักษาให้หายก่อนเดินทาง และเตรียมยาไปด้วย
  • จดบันทึกย่อ ๆ เกี่ยวกับสุขภาพระหว่างตั้งท้อง ยาที่ใช้ และปัญหาที่มีในการตั้งท้อง รวมถึงชื่อและเบอร์โทรติดต่อของคุณหมอที่ดูแล พร้อมทั้งตรวจสอบรายชื่อสูติแพทย์ หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว จดชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรติดต่อไว้เผื่อในกรณีฉุกเฉิน
  • วางแผนท่องเที่ยวแบบสบาย ๆ ควรไปที่ใดเพียงแห่งเดียว เช่น ไม่เที่ยวหลายจังหวัดภายในเวลา 3 วัน เพราะจะทำให้ร่างกายของคุณแม่อ่อนล้า ควรใช้เวลาสบายๆ เที่ยว 2-3 ชั่วโมง สลับกับนั่งหรือนอนพัก ไม่ใช้เวลาตลอดวันในการเดินทาง
  • เตรียมของกินและของใช้ที่จำเป็นไปด้วย คุณแม่ควรเตรียมยา นมที่ดื่มเป็นประจำ รวมถึงน้ำดื่มติดไปด้วย เพราะบางที่น้ำดื่มอาจไม่สะอาด หากไม่ได้พกไปด้วย คุณแม่อาจเลือกดื่มน้ำแบบบรรจุขวดแทน สำหรับของใช้ที่คุณแม่ควรนำติดตัวไปด้วยนอกจากของใช้ส่วนตัว คือรองเท้าที่ใส่สบายและยาฆ่าเชื้อโรค

ภาพจาก : story.motherhood.co.th

เดินทางอย่างปลอดภัย

1. เดินทางด้วยรถยนต์

  • ในการเดินทางด้วยรถ หากต้องนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหาโอกาสเปลี่ยนท่านั่งหรือยืนบ้าง อาจหยุดรถเพื่อลงเดินทุก 2-3 ชั่วโมง
  • แม่ท้องจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่นั่งรถ ซึ่งวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง จะต้องพาดผ่านระหว่างอกพอดีและพาดเลยต่อไปที่ด้านข้างของลำตัว ห้ามพาดผ่านส่วนท้อง และเข็มขัดนิรภัยส่วนล่างจะต้องพาดผ่านบริเวณส่วนบนของขา ไม่เลยขึ้นไปพาดที่ท้องเด็ดขาด โดยจะต้องพาดยาวจากสะโพกข้างหนึ่งไปยังสะโพกอีกข้าง เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบริเวณที่สามารถรองรับ และปกป้องแรงกระแทกจากการชนได้มากที่สุด
  • เตรียมอาหารว่าง น้ำดื่มและนมกล่องติดตัวไปด้วย เพื่อแก้หิวระหว่างเดินทาง
  • เตรียมหมอนอิงสำหรับหนุนหลังและหมอนรองคอ ถ้าเป็นรถส่วนตัวควรปรับเก้าอี้ให้อยู่ในลักษณะกึ่งเอนนอน

2. เดินทางด้วยเครื่องบิน

  • คุณแม่ท้องควรเตรียมใบรับรองแพทย์ไปด้วย หรือบอกทางสายการบินว่าตั้งท้อง เพื่อทางสายการบินจะได้เลือกที่นั่งที่สบายสำหรับคนท้องให้
  • ถ้านั่งเครื่องบิน ควรลุกขึ้นเดินบ้างและควรเลือกที่นั่งที่สามารถยืดตัวได้มาก ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ คุณแม่อาจเตรียมอาหารส่วนตัวไปด้วย เผื่อกินอาหารบนเครื่องไม่ได้
  • ในการเดินทางไกลข้ามทวีป ควรใช้เวลาพักผ่อนหลังการเดินทาง 2-3 วัน เพื่อให้หายเหนื่อยและหายเครียดจากการเดินทาง และให้ร่างกายได้ปรับตัวกับสถานที่และเวลาที่แตกต่าง

ภาพจาก : healthtodaythailand.in.th

3. เดินทางด้วยรถไฟ

  • ตรวจสอบว่ามีบริการอาหารบนรถไฟหรือไม่ หรือเตรียมอาหารไปด้วย
  • การเดินทางในช่วงกลางคืน ควรเตรียมที่นอนเพื่อคุณแม่จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในการเดินทาง
  • เดินทางครั้งนี้.. แม่ท้องต้องระวัง
  • การเดินทางขึ้นที่ที่สูงมาก เช่น ภูเขา ยอดคอย ไม่เหมาะกับคุณแม่ท้อง เนื่องจากสถานที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก จะมีปริมาณออกซิเจนในอากาศน้อย เป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่ท้องและทารก
  • หากจำเป็นต้องเดินทางไปในที่สูง คุณแม่ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม และพยายามใช้แรงให้น้อยที่สุดเมื่ออยู่บนพื้นที่สูง แต่หากพบความผิดปกติให้รีบกลับสู่พื้นราบโดยเร็ว
  • คุณแม่ต้องงดการเดินทางไปในที่ที่มีการระบาดของโรค เพราะร่างกายของแม่ท้อง จะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคสูงกว่าคนทั่วไป

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Mother & Care