ภาพจาก : th.theasianparent.com
ว่าที่พ่อแม่มือใหม่ย่อมห่วงความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้อง แต่การตรวจตัวอ่อนอาจกระทบกระเทือนถึงเด็ก ในที่สุดเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็พบทางสว่างที่ทำได้ง่ายและส่งผลเสียน้อย โดยรายงานไว้ในวารสาร Science Translational Medicine ว่า
เทคนิคตรวจคัดกรองความผิดปกติใหม่ไม่ต้องเจาะถุงน้ำคร่ำที่เสี่ยงทำให้เกิดภาวะแท้ง เพียงนำน้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) ของแม่ตั้งครรภ์ 18.5 สัปดาห์ มาเปรียบเทียบกับลำดับพันธุกรรมที่ได้จากน้ำลายของพ่อและเลือดของแม่ เท่านี้ก็ระบุได้ว่า ตัวอ่อนถ่ายทอดยีนใดมาบ้าง และกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ตรงไหน ซึ่งสามารถบอกโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยวทุกชนิดได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
ภาพจาก : hd.co.th
ตัวอย่างที่พบ เช่น โรคซีสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis : ร่างกายมีเยื่อเมือกหนาผิดปกติในปอดและลำไส้ ทำให้หายใจลำบาก) โรคฮันทิงตัน (huntington's disease : เซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวถูกทำลาย ทำให้ร่างกายทำงานไม่ประสานกันและสมองผิดปกติ) ความแม่นยำในการตรวจสูงถึงร้อยละ 98 หากพัฒนาสำเร็จจะใช้ได้ทั่วกันในเร็วๆ นี้
รู้อย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงเพื่อช่วยปกป้องลูกอีกทางนะคะ
ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารชีวจิต