ส้มแขก สรรพคุณและประโยชน์

ส้มแขก สามารถหาซื้อได้มากแถวภาคใต้ตอนล่าง ถ้าคุณมีโอกาสก็ลองไปเดินแถวตลาดนัด เขาจะขายกันแบบฝานเป็นชิ้นบาง ๆ เป็น ส้มแขกตากแห้ง โดยนำไปตากแห้งจนมีสีหมองดำ ๆ หมองคล้ำ

ส้มแขก สรรพคุณและประโยชน์

ส้มแขก ชื่อสามัญ Garcinia (การ์ซิเนีย), Malabar tamarind, Garcinia cambogia, Gambooge, Brindle berry, Assam fruit

ส้มแขก ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson จัดอยู่ในวงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)

สมุนไพรส้มแขก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น ชะมวงช้าง, ส้มควาย (ตรัง), อาแซกะลูโก (ยะลา), ส้มพะงุน (ปัตตานี), ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก (ภาคใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา ซึ่งในบ้านเรานิยมปลูกมากในทางภาคใต้

ส้มแขก สามารถหาซื้อได้มากแถวภาคใต้ตอนล่าง ถ้าคุณมีโอกาสก็ลองไปเดินแถวตลาดนัด เขาจะขายกันแบบฝานเป็นชิ้นบาง ๆ เป็น ส้มแขกตากแห้ง โดยนำไปตากแห้งจนมีสีหมองดำ ๆ หมองคล้ำ ซึ่งสามารถเก็บเอาไว้ใช้ได้นานหลายเดือน โดยวิธีการนำไปใช้ก็ง่ายมาก ๆ เพียงแค่นำไปล้างน้ำให้สะอาดก็ใส่ลงไปในหม้อได้เลย เพียงไม่กี่กลีบก็จะช่วยเพิ่มรสเปรี้ยวแบบนุ่ม ๆ พร้อมให้กลิ่นหอมชวนน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น หรือจะนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้เช่นกัน

ส้มแขก มีสารสำคัญที่มีชื่อว่า Hydroxycitric Acid หรือเรียกสั้น ๆว่า “HCA” ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น กรดซิตริก (Citric Acid), กรดโดคีคาโนอิค (Dodecanoic Acid), กรดออกตาดีคาโนอิค (Octadecanoic acid) และกรดเพนตาดีคาโนอิค (Pentadecanoic acid)

ส้มแขกแคปซูลในปัจจุบันส้มแขกได้มีการนำไปสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หลายรูปแบบ เช่น แบบผง แบบเม็ด ชาส้มแขก ส้มแขกแคปซูล โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 300-600 มิลลิกรัม และจะมีเนื้อส้มแขกประมาณ 250-500 มิลลิกรัม และมีปริมาณ HCA ประมาณ 60-70% โดยจะแตกต่างกับส้มแขกบดแห้งบรรจุแคปซูลธรรมดาที่ไม่ได้ผ่านการสกัด ซึ่งจะมีปริมาณของ HCA เพียง 30% เท่านั้น โดยวิธีการรับประทาน สารสกัดส้มแขก ให้รับประทานก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม (ถ้าเม็ดละ 300 mg. ก็ใช้ 3-4 เม็ด) วันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้ยาดูดซึมได้ดีที่สุด

สรรพคุณของส้มแขก

  1. ผลแก่นำมาใช้ทำเป็นชาลดความดันได้ หรือจะใช้ดอกก็ได้ (ผลแก่, ดอก)
  2. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ดอกตัวผู้แห้งต้มกับน้ำ (อัตราส่วน 7 ดอก : น้ำ 1 ลิตร) เติมน้ำครั้งที่สองใส่ดอก 3 ดอกต่อน้ำ 1 ลิตร โดยไม่ต้องทิ้งดอกที่ต้มในครั้งแรก แล้วนำมาดื่ม (ดอกตัวผู้)
  3. ใช้เป็นยาสมุนไพรช่วยฟอกโลหิต
  4. ใช้ทำเป็นยาแก้กระษัย ด้วยการนำมาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำผสมกับรากมังคุดและรากจูบู (ราก)
  5. ตำรายาพื้นบ้านใช้ส้มแขกทำเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์
  6. รากใช้ทำเป็นยารักษานิ่ว ด้วยการนำมาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำผสมกับรากมังคุดและรากจูบู (ราก)
  7. ผลส้มแขกมีสรรพคุณช่วยลดความอยากอาหาร ความรู้สึกหิวอาหาร
  8. ช่วยเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร
  9. ช่วยดักจับแป้งและไขมันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
  10. สารสกัดจากส้มแขกช่วยทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวตัวได้เร็วขึ้นและขับไขมันออกมา

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.) , mahidol ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต