รักษาฟันน้ำนมดีเกินไป..เลยเกิดปัญหาจริงหรือ

นี่แหละนะ เพราะทานฟลูออไรด์ ฟันน้ำนมเลยแข็งแรงเกินไป ฟันน้ำนมเลยไม่ยอมหลุดง่าย"ไม่น่ารักษาฟันน้ำนมให้ดีเลย ฟันแท้ถึงขึ้นเกอย่างนี้ เพราะฟันน้ำนมไม่ยอมหลุด"

นี่แหละนะ เพราะทานฟลูออไรด์ ฟันน้ำนมเลยแข็งแรงเกินไป ฟันน้ำนมเลยไม่ยอมหลุดง่าย"ไม่น่ารักษาฟันน้ำนมให้ดีเลย ฟันแท้ถึงขึ้นเกอย่างนี้ เพราะฟันน้ำนมไม่ยอมหลุด"

"นี่ถ้าเราปล่อยให้ฟันลูกผุๆ ซะบ้าง ฟันน้ำนมคงจะหลุดตามเวลา ไม่หลุดช้าอย่างนี้"ประโยคลอยลมเหล่านี้ มักจะเป็นคำรำพึงของคุณพ่อคุณแม่ จำนวนมาก ซึ่งถ้านับถึงพี่ป้า น้า อา ที่ช่วยกันรำพันด้วยแล้ว คงจะมากขึ้นอีกจนฟังไม่หวาดไม่ไหวโดย รอ. ทพญ. อพภิวันท์ นิตยารัมภ์พงศ์

ความจริงแล้ว การขึ้นของฟันแท้ กับการรักษาฟันน้ำนมดีเกิน ฟันน้ำนมแข็งเกินไปไม่ยอมหลุด เลยทำให้เห็นว่าฟันแท้ (มักจะเป็นฟันหน้าล่าง ซึ่งชอบขึ้นซ้อนข้างหลังฟันน้ำนมหน้าล่าง) ขึ้นเก หรือขึ้นช้านั้นแทบจะไม่เกี่ยวข้องเลยค่ะ เพราะปกติแล้วเวลาที่ฟันแท้จะขึ้น ถ้าตำแหน่งของหน่อฟันแท้ อยู่ตรงรากของฟันน้ำนมพอดี แรงดันจากการขึ้นของฟันแท้ จะทำให้รากฟันน้ำนมละลายตัว รากฟันน้ำนมถึงสั้นขึ้นๆ และโยกมากขึ้นทุกที จนหลุดไปในที่สุด ฟันแท้ก็จะค่อยๆ ขึ้นมาแทนที่ตรงฟันน้ำนมซี่นั้นพอดีซึ่งก็จะมีคุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านพาลูกมาหาหมอ แล้วให้ช่วยหารากฟันน้ำนมว่าฟักอยู่ในเหงือกหรือเปล่า ฟันน้ำนมของลูกจึงหลุดมาไม่มีราก ซึ่งหมอต้องตอบตามตรงว่า "ก็ไม่มีรากจริงๆ นะค่ะ ที่เห็นนะถูกแล้ว"

แต่ถ้าเกิดความไม่ปกติขึ้น (และความไม่ปกติชอบเกิดขึ้นบ่อยๆ จนกลายเป็นความปกติ) หน่อฟันแท้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกับรากฟันน้ำนม เวลาที่ฟันแท้ขึ้น แรงดันจากการขึ้นของฟัน จึงไม่ไปทำให้รากฟันน้ำนมละลาย เป็นการต่างฟันต่างขึ้น ต่างฟันต่างอยู่ นี่แหละค่ะ ที่ทำให้เราพบเสมอว่า ฟันแท้จะขึ้นข้างหน้า หรือข้างหลังฟันน้ำนมเกออกไปจากแนวที่ฟันซี่อื่นๆ เข้าแถวเรียงไว้อย่างสวยงาม และฟันน้ำนมก็ยืนหยัดแข็งแรงไม่หวั่นไหวเช่นกันเมื่อเป็นเช่นนี้จะทำอย่างไรละคะ ก็ต้องรีบถอนฟันน้ำนมซี่นั้นๆ เสีย ตั้งแต่ฟันแท้ยังขึ้นมาไม่มาก แล้วฟันแท้ก็จะค่อยๆ เคลื่อนตัวเองมาอยู่แทนที่ฟันน้ำนม ที่ลาจากไปเอง อย่างสวยงามค่ะ

อย่างนี้ต้องเรียกว่า "เสียบคราวนี้หมอไม่ว่า เสียบคราวหน้าหมอจัดการแน่" นะคะ

ข้อมูลจาก วารสาร Kid's guide ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต