สมุนไพร ม่อนไข่
สมุนไพร ม่อนไข่ ชื่อสามัญ Canistel, Egg Fruit, Tiesa, Yellow Sapote, Canistelsapote, Chesa (ฟิลิปปินส์), Laulu Lavulu หรือ Lawalu (ศรีลังกา)
สมุนไพร ม่อนไข่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pouteria campechiana (Kunth) Baehni (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lucuma campechiana Kunth) จัดอยู่ในวงศ์พิกุล (SAPOTACEAE)
สมุนไพรม่อนไข่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลูกท้อพื้นบ้าน (ราชบุรี), ท้อเขมร (ปราจีนบุรี), ทิสซา (เพชรบูรณ์) เซียนท้อ เขมา ละมุดเขมร ละมุดสวรรค์ หมากป่วน โตมา (กรุงเทพฯ)
ลักษณะของต้นม่อนไข่
ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาว ๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล
ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ (ประเทศเบลีซ, กัวเตมาลา, คอสตาริกา, เอลซัลวาดอร์, ฮอนดูรัส, ปานามา, นิการากัว)
ใบม่อนไข่ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 11.25-28 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร ใบเป็นมันและบาง
ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีม และมีกลิ่นหอม
ผลม่อนไข่ ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-12.5 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน เปลือกผลบาง เนื้อในผลเป็นสีเหลืองสดน่ารับประทาน เนื้อมีลักษณะเหนียวคล้ายกับแป้งทำขนม เนื้อนิ่มคล้ายกับไข่แดง (จึงเป็นที่มาของชื่อ Eggfruit) ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ และมีลักษณะเป็นรูปรีสีดำ รสหวาน
ภาพจาก forums.chiangraifocus.com
สรรพคุณของม่อนไข่
- เปลือกของต้นม่อนไข่ ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ ตัวร้อน
- ผลสุกใช้รับประทานมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- เมล็ดใช้เป็นยาสำหรับช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย
- ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)
ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย